
คาร์ล ฟรีดริช เกาส์
โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นตำนานหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า “เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์” (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์อีกด้วย
อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ
อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ(1903-1987) ( อังกฤษ: Andrey Nikolaevich Kolmogorov), เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1903 เสียชีวิต 20 ตุลาคม ค.ศ. 1987, เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ยักษ์ใหญ่ในวงการคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานโดดเด่นมากในงาน ทฤษฎีความน่าจะเป็นและทอพอโลยี. อันที่จริงแล้ว คอลโมโกรอฟมีผลงานในแทบทุกแขนงของคณิตศาสตร์ เช่น ตรรกศาสตร์, อนุกรมฟูเรียร์, ความปั่นป่วน (turbulence), กลศาสตร์คลาสสิก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้คิดค้น ความซับซ้อนแบบคอลโมโกรอฟ ร่วมกับ เกรโกรี ไชตัง และ เรย์ โซโลโมนอฟ ในช่วงช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970.
คอลโมโกรอฟเสมือนเป็นบิดาของ ทฤษฎีความน่าจะเป็นสมัยใหม่ (บางครั้งเรียกว่าทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์) เนื่องจากได้ปูรากฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็นใหม่ทั้งหมด ด้วยสัจพจน์ที่เรียบง่ายเพียงไม่กี่ข้อ. โดยงานวิจัยด้านทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน (คนละประเภทกับงานวิจัยด้านทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์) มีรากฐานทั้งหมดอยู่บนสัจพจน์คอลโมโกรอฟนี้
จอห์น เฮอร์เชล
จอห์น เฮอร์เชล (John Herschel) (7 มีนาคม ค.ศ. 1792-11 พฤษภาคม ค.ศ. 1871) นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือกระดาษคาร์บอนพิมพ์ดีด ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าสมัยนั้นการบันทึกข้อมูลต้องเขียนด้วยลายมือ และหากต้องการสำเนาก็ต้องคัดลอกซ้ำให้เหมือนเดิม ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นไป เฮอร์เชล จึงพยายามคิดวิธีการทำสำเนาขึ้นนั่นเอง ในทางการถ่ายภาพ เป็นผู้แนะนำให้ทัลบอท ผู้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพทัลบอทไทป์ (หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า กระบวเนกาทิฟโพสิทิฟ) ให้ใช้ “ไฮโป” ในการคงสภาพให้ภาพติดถาวร ในยุคแรกของการคงสภาพนั้นใช้น้ำเกลือเข้มข้นในการคงสภาพ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า “photograph” ”negative” และ “positive” จอห์น เฮอร์เชล เป็นลูกชายของวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ ซึ่งค้นพบดาวยูเรนัส
บารอนชอง แบบทิสต์ โจเซฟ ฟูร์เยร์
บารอนชอง แบบทิสต์ โจเซฟ ฟูร์เยร์ (Jean Baptiste Joseph Fourier พ.ศ. 2311 – 2373) นักคณิตศาสตร์ ได้หันมาสนใจคณิตศาสตร์ประยุกต์เป็นครั้งแรก ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับการไหลของความร้อน ฟูร์เยร์ก็ได้ค้นพบสมการการไหลนี้ ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อเป็น สมการฟูร์เยร์ เพื่อแก้ปัญหาและพิสูจน์สมการนี้ ฟูร์เยร์ได้แสดงให้เห็นว่าฟังค์ชันหลายฟังค์ชันของตัวแปรเดี่ยวสามารถขยายออกเป็นอนุกรมของ ไซน์ (sines) เชิงซ้อนของตัวแปร ที่เรียกในภายหลังว่า “อนุกรมฟูร์เยร์
เรอเน เดส์การตส์
เรอเน เดส์การตส์ (Ren Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนา
ด้านแคลคูลัสต่อมา เดส์การตส์ ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18
กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ
กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) (1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 (พ.ศ. 2189) ในเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716 (พ.ศ. 2259)) เป็นนักปรัชญา, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักการทูต, บรรณารักษ์ และ นักกฎหมาย ชาวเยอรมันเชื้อสายเซิบ เขาเป็นคนที่เริ่มใช้คำว่า “ฟังก์ชัน” สำหรับอธิบายปริมาณที่เกี่ยวกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบางจุดของเส้นโค้งดังกล่าว ไลบ์นิซและนิวตันได้รับการยกย่องร่วมกันว่าเป็นผู้เริ่มพัฒนาแคลคูลัสโดยเฉพาะส่วนของไลบ์นิซในการพัฒนาปริพันธ์และกฎผลคูณ

เคิร์ต โกเดิล (พ.ศ. 2449-2521) นักตรรกวิทยา นักคณิตศาสตร์ และนักปรัชญาคณิตศาสตร์ ที่ถือว่าโดดเด่นแห่งยุค เกิดที่เมืองบร์โน (Brno) สาธารณรัฐเช็ก จบการศึกษาและเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนาและได้อพยพไปอยู่อาศัยในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2483 และได้เป็นพลเมืองสหรัฐในปี พ.ศ. 2491 พร้อมกับได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันการศึกษาก้าวหน้า (The Institute of Advance Study) มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เคิร์ต โกเดิลได้แสดงให้เห็นในปี พ.ศ. 2474ว่าระบบตรรกะที่เป็นระเบียบที่เพียงพอต่อทฤษฎีจำนวน จะต้องประกอบด้วยปัญหาที่จะต้องพิสูจน์แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ใอยู่นระบบนั้น งานของโกเดิลมีผลกระทบอย่างแรงต่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาในคริสตศตวรรษที่ 20
จอห์น ฟอน นอยมันน์ ในช่วงปี ค.ศ.1940(John von Neumann, Neumann Jnos, 28 ธ.ค. ค.ศ. 1903 – 8 ก.พ. ค.ศ. 1957) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขาทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎีเซต วิทยาการคอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์ และ จะว่าไปแล้วก็ทุกๆ สาขาในวิชาคณิตศาสตร์ เลยก็ว่าได้
พีทาโกรัส
พีทาโกรัส (582 – 496 ปี ก่อนค.ศ.)เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวไอโอเนียน, เป็นที่รู้จักในนามเจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัสผพีทาโกรัสได้ชื่อว่าเป็น”บิดาแห่งตัวเลข” พีทาโกรัสไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ถึงทุกวันนี้ เราไม่สามารถที่จะพูดถึงชีวประวัติของพีทาโกรัสได้ด้วยความแน่นอน เพราะตำนานและเรื่องเล่าต่างๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใดๆ ในยุคก่อนโสเครติส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น